วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปลากัด








ปลากัด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก
ปลากัดภาคกลาง)
ไปที่:
ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ปลากัดภาคกลาง
Betta splendens Regan, ค.ศ. 1910
ปลากัดลูกทุ่งภาคกลาง ตัวผู้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์[ซ่อน]
ปลากัดภาคกลาง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบ Ctenoid ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6
เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง
มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ปลากัด
เป็นปลาที่
คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีมาแต่โบราณ โดยปลากัดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากธรรมชาติมักเรียกติดปากว่า "ปลากัดทุ่ง" หรือ "ปลากัดลูกทุ่ง" หรือ "ปลากัดป่า" จากพฤติกรรมที่ชอบกัดกันเองแบบนี้ ทำให้นิยมนำมาเลี้ยงใช้สำหรับกัดต่อสู้กันเป็นการพนันชนิดหนึ่งของคนไทย และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์และความสวามารถในชั้นเชิงการกัดจนถึงปัจจุบัน จนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทยและเป็นที่รับรู้ของชาวต่างชาติในชื่อ "Siamese fighting fish"
ในปัจจุบัน ปลากัดภาคกลางได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีสีสันที่สวยงามและหลากหลายขึ้น เรียกว่า "ปลากัดหม้อ" นิยมเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กและแคบ เช่น ขวดโหล ขวดน้ำอัดลม เป็นต้น อีกทั้งยังได้พัฒนาสายพันธุ์ในแง่ของความเป็นปลาสวยงามอีกหลายสายพันธุ์ เช่น ปลากัดจีน ที่มีเครื่องครีบการเพาะปลากัด ยาว ปลากัดแฟนซี ที่มีสีสันหลากหลายสวยงาม ปลากัดคราวน์เทล หรือ ปลากัดฮาร์ฟมูน เป็นต้นปลากัด ปลานักรักผู้ยิ่งใหญ่ เป็นปลาที่เพาะพันธุ์ง่ายไม่ยุ่งยาก จึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่คิดจะเพาะเลี้ยงปลาชนิดที่ออกเป็นไข่ เพื่อฝึกฝนการเลี้ยงและอนุบาลลูกปลา เอาไว้เป็นทุนในการเพาะเลี้ยงปลาชนิดอื่นที่มีราคาแพงต่อไป หรือจะเพาะเลี้ยงปลากัดเพื่อเป็นอาชืพเสริมก็ยังได้ ปลากัดเป็นปลาที่ไม่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่มากนัก มีความเป็นธรรมชาติสูง ราคาไม่แพงและเป็นปลาที่เพาะได้ตลอดปี ปลากัดเป็นปลาที่มีอวัยวะที่ช่วยหายใจพิเศษที่เรียกว่า Labyrinth เราจึงเห็นปลากัดชอบขึ้นมาหุบอากาศเพื่อหายใจ ดังนั้นปลากัดจึงสามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่ไม่สะอาดและไม่มีอากาศได้นาน ๆ










การเพาระเลี้ยง
ปัจจุบันการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดเป็นที่แพร่หลายในหมู่ผู้เพาะเลี้ยงเป็นอาชีพ การพัฒนาดังกล่าวนี้ทำให้ปลากัดมีสีสันมากมาย เรียกได้ว่าเกือบทุกสีแล้วในขณะนี้ บางสีมีราคาแพงมาก ถ้าผู้ที่คิดจะเพาะเลี้ยงปลากัด ขั้นเริ่มต้นขอแนะนำให้เพาะเลี้ยงปลากัดที่มีราคาไม่แพงนักเพื่อฝึกฝนการเพาะไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมั่นใจแล้วจึงลงทุนใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีราคาต่อไป มีเรื่องอ้างอิงกันมาแต่โบราณว่าปลากัดแค่มองตากันก็ท้องแล้ว ระวังนะสาว ๆ ห้ามมองตาหนุ่มที่ใหน การพบไข่ของปลาทั่วไปนั้น เมื่อปลาตัวเมียสมบูรณ์เพศแล้วรังไข่ก็จะสร้างไข่ขึ้นมาเป็นธรรมชาติ การเทียบปลาตัวผู้และตัวเมียของปลากัดเป็นการเร่งไข่ให้แก่และทำความพร้อมให้กับตัวเมียในการออกไข่ ปลาตัวเมียเองเมื่อไข่แก่เต็มที่แล้วไม่มีตัวผู้มาผสมพันธุ์ก็จะปล่อยไข่ออกมาเอง หรือบางตัวจะก่อหวอดเองและนำไข่ที่ร่วงออกมาไปไว้ในหวอดเหมือนตัวผู้เลย แต่สุดท้ายก็กินไข่เหล่านั้นเข้าไป การผสมพันธุ์ของปลากัด ปลาพ่อและแม่จะช่วยกันจนเสร็จสิ้น สุดท้ายก็กับสู่ภาวะปกติ ตัวผู้ก็จะไล่กัดตัวเมียและเริ่มดุมากขึ้น จึงจำเป็นต้องนำปลาตัวเมียออกจากบ่อเพาะเมื่อจบการผสมพันธุ์ เพื่อป้องกันการสูญเสียแม่พันธุ์ มีคนเคยกล่าวถึงการเทียบคู่ของปลากัดนั้นจะทำให้ลูกปลาที่ได้ออกมานั้นมีลักษณะสีสันเหมือนกับพ่อพันธุ์ ปลากัดที่มีสีสันเช่นนั้นอาจได้มาจากการถ่ายทอดความรู้สึกของปลาแม่พันธุ์ไปยังลูกปลา มีผู้ใช้เทคนิคเหล่านี้มาปรับเปลี่ยนโดยการวาดรูปปลากัดที่มีสีสันตามต้องการ มาตั้งเทียบปลาแม่พันธุ์ไว้ วิธีการนี้มีมานานแล้วถึงแม้ว่าไม่มีบทพิสูจน์ในทางวิชาการก็ตามแต่ก็ได้รับการยืนยันจากนักเพาะปลากัดจำนวนหนึ่งถึงผลที่ได้รับว่า ในครอกหนึ่ง ๆ จะมีลูกปลาที่มีลักษณะเหมือนภาพวาดด้วยเช่นกัน ใครสนใจจะนำไปใช้ก็ไม่มีปัญหา แต่ขอบอกใว้ว่าปลากัดต้องผสมพันธุ์กันระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์นะครับ ไม่ใช่มองกันอย่างเดียวก็ได้ลูกปลาแล้ว
การคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ปลากัด ก่อนอื่นที่จะกล่าวถึงเกี่ยวกับการคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ปลากัด เราจะต้องนึกอยู่ในใจว่าเหตุผลเช่นไรที่จะเพาะเลี้ยงปลากัด การเพาะเลี้ยงปลากัดเพื่อฝึกฝนก็ไม่จำเป็นอะไรมากนัก มีตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 1 ตัวที่สมบูรณ์ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากต้องการเพาะเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่นการบีบสี ก็จำเป็นจะต้องหาพ่อแม่พันธุ์ที่มีสีสันตามที่ต้องการทั้งตัวผู้ตัวเมีย หรือไม่มีก็ต้องหาตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป การเพาะเพื่อส่งประกวด ก็จำเป็นจะต้องมีพ่อแม่พันธุ์ตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ และมีความสวยงาม การเพาะเพื่อการค้า ก็จำเป็นที่จะต้องดูตลาด ว่าความต้องการขณะที่เพาะนั้นตลาดต้องการสายพันธุ์ใหนและต้องการสีอะไรอีกด้วย ดังนั้นการเพาะปลาจึงจำเป็นที่จะต้องคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ปลากัดให้ตรงกับจุดประสงค์ที่เพาะด้วย การเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกที่ควรคำนึงถึงคือ ความสมบูรณ์ของปลา จำเป็นอย่างยิ่งที่ปลากัดที่จะนำมาผสมพันธุ์นั้นจะต้องมีความสมบูรณ์ มีสุขภาพที่แข็งแรง บางครั้งมองดูจากภายนอกก็ไม่สามารถทราบถึงความสมบูรณ์ของปลาได้ เมื่อได้ไปหาพ่อแม่พันธุ์มาจากที่ใดก็ตามจะต้องนำมาให้อาหารอย่างอุดม อีกทั้งสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วยเช่น น้ำ ภาชนะที่ใส่ บริเวณที่วางภาชนะเลี้ยง ก็ต้องดูแลให้เป็นพิเศษด้วย เป็นต้น การเลือกพ่อแม่พันธุ์ถ้าสามารถเลือกได้ ก็จะต้องเลือกที่มีลักษณะที่แข็งแรง ไม่มีลักษณะทีครีบไม่กาง ผอมหัวโต ไม่ก่อหวอด นอนหวดตลอด และก็อย่าลืมจุดประสงค์หลักที่เพาะเพื่ออะไรด้วย
ไข่นำบริเวณใต้ท้องของแม่พันธุ์ปลากัด










ประเภทปลากัด







ปลากัดลูกทุ่ง


ปลากัดลูกทุ่งหรือลูกป่าเป็นปลาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตาม หนอง คลอง บึงทั่วไปขนาดลำตัวบอบบาง ยาวประมาณ 2 ซม. ตัวผู้มีครีบท้องหรือครีบตะเกียบยาวครีบก้น ครีบหลัังยาว หากกลมเป็นรูปใบโพธิ์ สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว ส่วนตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ มีตจะเกียบสั้น ครีบสั้น หางเล็ก สีตามตัวซีดและมีเส้นดำ 2 เส้น พาดขนานกลางลำตัวตั้งแต่คอจนถึงโคนหางตรงท้องระหว่างตะเกียบมีจุดไข่สีขาวที่เรียกว่า ไข่นำ 1 เม็ด ปลาชนิดนี้มีนิสัยว่องไว แต่กัดไม่ทนสู้ลูกหม้อไม่ได้








ปลากัดหม้อ
แต่โบราณกาลปลากัดพบได้ทั่วไปตามหนองคลอง บึงทั่วไป....พบตามป่า เรียกปลากัดป่าอยู่ตามทุ่งก็เรียกปลากัดลูกทุ่ง ต่อมาได้มีการนิยมจับปลาตามหนองน้ำตามทุ่งนามากัดกันยามว่างเป็นกีฬาที่นิยมกันตามชนบทสมัยนั้นซึ่งยุคนั้นปลากัดที่จับมาตามธรรมชาติยังไม่ค่อยอดทนเท่าใดนักจนมีการพัฒนาสายพันธ์มามากมายทำให้ได้ปลากัดที่มีคุณภาพ แข็งแรง อดทน....มากขึ้นจากอดีต..และนิยมเลี้ยงกันในหม้อ ไห สมัยเก่า จึงเป็นชื่อ











ปลากัดจีน


ปลากัดจีน เกิดจากการผสมเทียมและพัฒนาสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ใหม่ขึ้นมามีสีสันสวยงามฉูดฉาด เช่น สีเขียว สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว ฯลฯ มีครีบหางครีบหลังและตะเกียบยาวเป็นพวง นิยมเลี้ยงกันเพื่อความสวยงามไม่นิยมให้กัดกัน เพราะำม่มีความว่องไวในการต่อสู้ ปลากัดจีนในปัจจุบันจะเน้นเฉพาะความสวยงาม










ปลากัดเขมร



ปลากัดเขมร เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามเช่นเดียวกับปลากัดจีน เป็นสินค้าส่งออกนอกประเทศเป็นอันดับต้นๆ เพราะมีคุณสมบัติในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้กับผู้เลี้ยง
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัดเนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวชอบต่อสู้ เมื่อปลาอายุประมาณ 1.5-2 เดือนการเลี้ยงปลากัดจึงจำเป็นต้องรับแยกปลากัด เลี้ยงในภาชนะ เช่น ขวดแบนเพียงตัวเดียวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กันหากแยกปลาช้าเกินไปปลาอาจจะ บอบช้ำไม่แข็งแรง หรือพิการได้ ปลาจะกัดกันเอง ควรจะแยกปลากัดเลี้ยงเดี่ยวๆทันทีที่สามารถแยกเพษได้ เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ1.5-2 เดือน จะสังเกตเห็น ว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นได้ชัดเจน และขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของ ลำตัว 2 -3 แถบ และมักจะมีขนาดเล็กว่าปลาเพศผู้ เพื่อไม่ให้ปลากัดเกิดความเสียหายหรือบอบซ้ำ ควรทำการแยกปลากัดก่อน ซึ่งการดูเพศปลากัดต้องใช้การสังเกต ดังนี้
1.ดูสี ตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมีย แต่ลายบยลำตัวเห็นได้ชัดเจน ส่วนตัวเมียจะมีสีั ซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีนี้จะดูได้อย่างชัดเจน ยิ่งขึ้นเมื่อปลากัดีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป2. ดูครีบและกระโดงปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่าของตัวเมียมีกระโดง ยาวไปจรดหาง ส่วนกระโดงของตัวเมียจะสั้่นกว่ามาก3. ดูไข่นำ ซึ่งเป็นจุดขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนและ จุดๆ นี้คือท่อนำไข่4. ดูปาก ถ้าลูกปลาตัวใดมีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่าลูกปลากัดตัวนั้นเป็นตัวผู้ ซึ่ง เริ่มสังเกตเห็นได้่ตั้งแต่ปลากัดมีอายุน้อยๆ ประมาณ 20 วันขึ้นไป5. ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวโตกว่าปลาตัวเมียแม้มีอายุเท่าๆ กัน และเมื่อทำการแยกเพศปลากัดแล้วจึงนำปลากัดไปเลี้ยงไว้ในภาชนะทีเตรียมไว้ภาชนะที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงปลากัดได้แก่ขวดสุราชนิดแบน บรรจุน้ำได้ 150ซีซีเพราะสามารถหาได้ไม่ยากนัก อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าการสั่งทำขวดพิเศษสามารถวางเรียงกันได้เป็นจำนวนมากไม สิ้นเปลืองพื้นที่ แต่ปัจจุบันการเลี้ยงเชิงพาณิชย์มักจะสั่งทำขวดโหลชนิดพิเศษ เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยม บ้างก็เป็นขวดกลมใหญ่เพื่อเป็นการโชว์ปลากัด แต่ละประเภทหรือแต่ละสายพันธุ์ ได้อย่างชัดเจน เมื่อนำไปวางจำหน่าย







ลักษณะของปลากัด
ปลากัดถูกจัดอยู่ในดันดับ (Order) Perciformes ครอบครัว (Family) Belontiidae ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens Regan เป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบแพร่กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ ในบริเวณที่มีระดับน้ำตื้น ๆ น้ำค่อยข้างใส น้ำนิ่งหรือ ไหลเอื่อย ๆ มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นประปรายชอบว่ายน้ำช้า ๆ บริเวณผิวน้ำ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัว ยาว แบนข้าง หัวเล็ก ปากขนาดเล็กเชิดขึ้นด้านบนเล็กน้อย มีฟันที่ขากรรไกรบน และขากรรล่าง มีเกล็ดปกคลุมหัวและลำตัว ความยาวจาก ปลายจงอยถึงโคนหางยาว 2.9 - 3.3 เท่าของความกว้าง ลำตัว และ 3.0-3.3 เท่าของความยาวหัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านหาง หลังจุดเริ่ม ต้นของครีบก้น ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1-2 ก้าน ก้านครีบแขนง 7-9 ก้าน ครีบก้นมีฐานครีบยาว มาก เริ่มจากครีบท้องไปสุดที่โคนครีบ หาง มีก้านครีบเดี่ยว 2-4 ก้าน และก้านครีบแขนง 21-24 ก้าน ครีบอกมีขนาดเล็กกว่าครีบอื่น ๆ ปลากัดไม่มีเส้นข้างตัว กระดูกที่อยู่ด้านหน้าของตา ( Preorbital ) มีขอบเรียบ มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนอกจากเหงือก เรียก Labyrinth organ อยู่ในโพรงอากาศหลังช่องเหงือก มีลักษณะ เป็นเนื้อเยื่อที่มีรอยยักและมีเส้นเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยง มากมาย แต่ในปลาวัยอ่อนจะไม่พบอวัยวะช่วยหายใจดังกล่าว จะเริ่มเกิดเมื่อปลามีอายุ 10 วัน จาก การที่ปลากัดต้องใช้อวัยวะช่วยในการหายใจ ทำให้ปลาต้องโพล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำเสมอ และ จากสาเหตุนี้ทำให้ปลากัดสามารถอยู่ในน้ำที่ไม่มี ออกซิเจนได้ปลากัดมีนิสัยก้าวร้าว ปลาเพศผู้ จะต่อสู้กันและชอบทำร้ายปลาเพศเมียในเวลาผสมพันธุ์ แต่ในปลาวัยอ่อนยังไม่พบว่ามีพฤติกรรม ก้าวร้าว ปลาเริ่มแสดงนิสัยจวบยก้าวร้าวเมื่ออายุได้1.5 - 2 เดือน และจากลักษณะนิสัยนี้เองทำ ให้ประเทศไทยมีประวัติการใช้ปลากัดต่อสู้กันทั้งเพื่อเกมกีฬา และการพนัน จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก มานับร้อยปีแล้ว ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อต่อสู้นั้นมีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถ ใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่เรียกกันว่า ปลากัดป่า หรือ ปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบาง สีน้ำตาลขุ่น หรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัด พันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่มีรูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้น ว่ายน้ำปราดเปรียว สีสันสวย สด เช่น สีแดงเข้ม น้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการ คัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย มีผู้พยายาม คัดพันธุ์ปลากัด โดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย จนปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถผลิตปลากัดที่มีสีสัน สดสวยมากมายหลายสี เช่น เขียว ม่วง แดง น้ำเงิน ฯลฯ กับ ความยาวลำตัวและหัวรวมกัน ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษระเช่นนี้ว่า ปลากัดจีน หรือปลากัดเขมร ต่าง ประเทศรู้จักปลากัดในนาม " Siamese Fighting Fish " ปัจจุบันปลากัดเป็นปลาที่สามารถส่งขายต่าง ประเทศนำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่งของปลาไทยทั้งหมด เพราะนอกจากจะเป็นปลาที่มีสีสัน สดสวย ครีบยาวพริ้วสวยงามแล้วยังมีคุณสมบัติในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้แก่ผู้เลี้ยงอีกด้วยครับ

พันธุศาสตร์ของสีและลักษณะของปลากัด
พันธุศาสตร์ที่เกี่ยวกับสีของปลากัดนั้นค่อนข้างจะซับซ้อน เนื่องจากมียีนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย สีของปลากัดประกอบด้วยชั้นสีหลัก ๔ ชั้นสี คือ สีเหลือง สีดำ สีแดง และสีวาว ในชั้นสีหลักแต่ละสีมียีนจำนวนหนึ่งที่ควบคุมปริมาณเม็ดสี ว่าจะะมีมากหรือน้อยเพียงใด และจะกระจายอยู่ในบริเวณส่วนใด สีของปลากัดที่ปรากฏให้เห็นเป็นผลรวมของสีที่แสดงออกในชั้นสีทั้ง ๔ ชั้นนี้ จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่ามียีน ๓ ชนิดที่มีอิทธิพลต่อสีดำ ซึ่งทำให้เกิดสีดำได้ ๘ รูปแบบ ส่วนสีแดงก็มียีน ๓ ชนิดที่มีอิทธิพลต่อสีแดง ซึ่งสามารถให้สีแดงได้ถึง ๑๒ รูปแบบ และในสีวาวก็พบยีน ๓ ชนิด ซึ่งทำให้มีสีวาวได้ ๑๒ รูปแบบ หากผสมลักษณะเหล่านี้เข้าด้วยกันจะสามารถสร้างลักษณะสีของปลากัดได้ถึง ๑,๑๑๕ รูปแบบ นอกจากนี้ถ้านำยีนที่ควบคุมลักษณะสีขุ่น ลายหินอ่อน และลักษณะครีบรวมเข้าไปด้วย จะทำให้สามารถได้ปลากัดที่มีลักษณะแตกต่างกันถึง ๒๖,๐๐๐ รูปแบบ ทั้งนี้พิจารณาจากยีนที่มีการค้นพบแล้วเท่านั้น ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว ยังมียีนอีกจำนวนมากที่อาจมีการค้นพบเพิ่มเติมในระยะเวลาต่อไปได้อีก ๑) ชั้นสีเหลือง จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบยีนที่ควบคุมสีเหลืองของปลากัด ซึ่งหมายความว่า ปลากัดสีเหลืองเป็นปลากัดที่มียีนที่ทำให้ไม่มีสีดำ สีแดง และสีน้ำเงินในชั้นสีวาว อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีปลากัดสีขาวจำนวนมากที่ผสมออกมาโดยไม่มีสีเหลืองเลย ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ที่จะมียีนควบคุมสีเหลือง ซึ่งจะเป็นโดยตรง หรือโดยอ้อมก็ตาม หรือมิฉะนั้นก็อาจจะเกี่ยวข้องกับยีนที่ควบคุมความขุ่นของสีก็ได้ ๒) ชั้นสีดำ มียีน ๓ ชนิดที่มีผลต่อชั้นสีดำ ประกอบด้วย - ยีนสีเขมร หรือ สีเผือก เป็นยีนด้อยทั้งคู่ เมื่อปลามียีนประเภทนี้ก็จะทำให้ไม่ปรากฏเม็ดสีของสีดำ ทำให้สีของปลาออกมาในลักษณะคล้ายปลาเผือก แต่ไม่ใช่ปลาเผือกจริงๆ ตามความหมายที่เข้าใจกัน โดยปกติปลากัดเขมรจะมีลำตัวสีเนื้อและครีบสีแดง แต่ในปัจจุบันมีปลากัดเขมรที่มีครีบสีอื่นๆ เช่น สีน้ำเงิน สีเขียว และสีขาว - ยีนสีบลอนด์ หรือ สีสว่าง เป็นยีนด้อยทั้งคู่ เป็นยีนที่ไปจำกัดเม็ดสีดำ อิทธิพลของยีนคู่นี้จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดในปลากัดสีแดง โดยทำให้เกิดสีแดงสด และถ้ามียีนเด่นจะทำให้มีชั้นสีดำอยู่ข้างใน ทำให้เห็นสีเข้มเป็นสีเลือดนก ยีนคู่นี้อาจมีผลร่วมกับยีนสีวาว ทำให้สีอ่อนมากลงไปอีก - ยีนสีดำ เป็นยีนที่ควบคุมเม็ดสีสีดำ เป็นยีนด้อยทั้งคู่ ทำให้มีเม็ดสีสีดำมากการผสมพันธุ์ปลาที่มียีนประเภทนี้จะต้องระมัดระวังมาก เพราะยีนคู่นี้มีผลทำให้ไข่ของปลาไม่สามารถพัฒนาได้ ๓) ชั้นสีแดง ยีนที่ควบคุมการกระจายและความเข้มของสีแดงเป็นยีนเด่นทั้งคู่ ทำให้เกิดสีแดงหลายเฉดสี ปลากัดที่มียีนด้อยคู่ จะมีบริเวณการกระจายของสีแดงน้อยกว่าปลากัดที่มียีนเด่นคู่ ยังไม่มีการตรวจพบยีนที่ทำให้บริเวณที่มีสีแดงลดลงจากระดับปกติในปลากัด อย่างไรก็ตามเนื่องจากสีแดงในปลากัดมีการกระจายแตกต่างกันมาก บางตัวจะเหลือสีแดงเพียงบริเวณเล็กน้อย ซึ่งยากที่จะอธิบายได้หากไม่มียีนที่ควบคุมการลดบริเวณของสีแดง และยีนที่เพิ่มบริเวณของสีแดง ยีนที่ควบคุมการกระจายของสีบนครีบจะทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า ผีเสื้อ อย่างไรก็ตามบางคนคิดว่าในส่วนนี้อาจเป็นผลจากยีนหลายยีนที่แสดงออกร่วมกัน เนื่องจากการกระจายของสีแดงที่ครีบสามารถเป็นไปได้หลายรูปแบบ และในความเข้มของสีที่แตกต่างกัน ๔) ชั้นสีวาว ยีนสีน้ำเงินแกมเขียวสามารถทำให้เกิดสีได้ ๓ สี กล่าวคือ หากเป็นยีนเด่นทั้งคู่จะทำให้เกิดสีเขียววาว ขณะที่ยีนเด่นหนึ่งและยีนด้อยหนึ่ง จะทำให้เกิดสีน้ำเงินวาว หากเป็นยีนด้อยทั้งคู่จะทำให้เกิดสีน้ำเงินวาวแบบสตีลบลู (steel blue) ในขณะเดียวกันถ้ามีชั้นของสีดำอยู่ข้างใต้จะทำให้สีออกมาเข้มกว่า และทึบกว่าที่ไม่มีชั้นของสีดำอยู่ สีวาวเกิดจากผลึกในเซลล์สะท้อนแสง ทำให้เกิดสีน้ำเงินวาว หรือสีเขียววาว ยีนที่ควบคุมการกระจายของสีวาวหากเป็นยีนเด่นทั้งคู่ จะเพิ่มความวาวของสีปลากัด แต่ถ้าเป็นยีนด้อยทั้งคู่ ความวาวของสีจะลดลงไปมาก และจากข้อมูลที่พบอาจเป็นไปได้ว่ายีนที่ควบคุมการกระจายของสีวาวที่เป็นยีนเด่นหนึ่งและยีนด้อยหนึ่งจะให้ความวาวในช่วงปานกลาง หรืออาจเป็นไปได้ว่ามียีนมากกว่า ๑ คู่ ที่เกี่ยวข้องกับความวาวของสีปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบว่า มียีนตัวใดบ้างที่ทำให้สีน้ำเงินไม่ปรากฏอยู่เลยในปลากัดบางตัว แต่จากการผสมพันธุ์ พบว่ามีหลายครั้งที่ได้ปลากัดที่ไม่แสดงลักษณะของสีน้ำเงินออกมาเลย จึงยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่มาก อย่างไรก็ตามในกรณีที่ปลากัดมียีนด้อยคู่ของสีบลอนด์ร่วมกับยีนด้อยคู่ที่ควบคุมการกระจายของสีวาว ชั้นของสีน้ำเงินจะมีค่อนข้างจำกัด ทำให้เกิดสีประกายเงินเล็กน้อย จนไม่อาจสังเกตได้ว่าเป็นสีน้ำเงิน ยีนด้อยคู่เขมรหรือยีนเผือก และยีนด้อยคู่สีบลอนด์ ซึ่งให้สีเหลืองและสีขาว ก็มีผลในการจำกัดสีน้ำเงินด้วย อย่างไรก็ตาม บางคนยังคิดว่าอาจจะมียีนที่ยังไม่ถูกค้นพบที่ควบคุมไม่ให้มีสีน้ำเงินอยู่ ๕) ยีนที่ควบคุมลักษณะอย่างอื่นๆ - ยีนสีขุ่น เป็นยีนด้อยคู่ทำให้เกิดสีน้ำนม ซึ่งบางคนเรียกสีขาว ปลาที่มียีนชนิดนี้อาจมีปัญหาเกี่ยวกับตา เนื่องจากเมื่อปลาอายุมากขึ้น บริเวณที่ขุ่นนี้อาจแพร่เข้าไปถึงส่วนของตา ทำให้ตาบอด - ลายหินอ่อน ยังไม่มีการค้นพบยีนที่ควบคุมรูปแบบสีลายนี้ แต่จากการที่สามารถผสมพันธ์ปลากัดให้ได้สีลายนี้ในรูปแบบต่างๆ ซ้ำๆ กันได้ จึงอาจเป็นไปได้ที่จะมียีนควบคุมลักษณะสีลายนี้อยู่ - หางคู่ ลักษณะหางคู่จะถูกควบคุมโดยยีนซึ่งเป็นยีนด้อยคู่ ทำให้ปลากัดมี ๒ หาง และมีครีบหลังยาว รวมทั้งอาจมียีนอื่นที่มีผลต่อลักษณะของครีบหางด้วย เนื่องจากลักษณะการแยกกันของครีบหางจะไม่เท่ากัน ทั้งในส่วนของครีบที่แยกออก และความลึกของส่วนที่แยกออกจากกัน - การแผ่ของหาง ในระยะไม่กี่ปีมานี้มีปลากัดที่ผสมพันธุ์ออกมามีลักษณะหางแผ่กว้างมากขึ้น และครีบทั้งหลายต่อเนื่องกันอย่างสมบูรณ์ แต่ยังไม่มีการพบยีนที่ควบคุมลักษณะนี้ ซึ่งน่าจะเป็นยีนด้อยคู่[
ตัวอย่างแผนผังการถ่ายทอดพันธุกรรมของปลากัด

การผสมพันธุ์ปลากัดหางคู่ ลักษณะหางคู่เป็นลักษณะด้อย ส่วนลักษณะหางเดียวเป็นลักษณะเด่น ทำให้ปลากัดที่มียีนทั้งสองลักษณะอยู่ด้วยกันมีลักษณะเป็นหางเดียว ซึ่งหากผสมระหว่างปลาหางคู่ด้วยกัน จะได้ลูกปลาเป็นปลาหางคู่ทั้งหมด แต่ถ้าผสมระหว่างปลาหางคู่และปลาหางเดียวที่มียีนหางคู่แฝงอยู่ ลูกปลาจะเป็นปลาหางคู่ครึ่งหนึ่ง และเป็นปลาหางเดียวที่มียีนหางคู่แฝงอีกครึ่งหนึ่ง ถ้าลูกปลาที่ได้เป็นปลาหางคู่ ๑ ใน ๔ และเป็นปลาหางเดียว ๓ ใน ๔ แสดงว่าเป็นการผสมระหว่างพ่อแม่พันธุ์ที่เป็นปลาหางเดียวที่มียีนหางคู่แฝงอยู่ทั้งคู่ซึ่ง ๒ ใน ๓ ของลูกปลาหางเดียวจะเป็นปลาหางเดียวที่มียีนหางคู่แฝงอยู่ และถ้าผสมระหว่างปลาหางเดียวแท้และปลาหางเดียวที่มียีนหางคู่แฝงอยู่ จะไม่ได้ปลาหางคู่เลย ลูกปลาจะเป็นปลาหางเดียวทั้งหมด โดยเป็นปลาหางเดียวแท้ครึ่งหนึ่ง และเป็นปลาหางเดียวที่ยีนหางคู่แฝงอยู่อีกครึ่งหนึ่งการผสมพันธุ์ปลากัดโทนสีน้ำเงิน - เขียว เมื่อผสมปลากัดสีเขียวแท้กับสีสตีลบลู จะได้สีน้ำเงินทั้งหมด แต่หากผสมปลากัดสีน้ำเงินทั้งคู่ จะได้ปลากัดสีเขียว ๑ ใน ๔ ปลากัดสีน้ำเงินครึ่งหนึ่ง และปลากัดสีเทาอีก ๑ ใน ๔ข้อหลัก]
การพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดสีดำ สีดำล้วนของปลากัดควบคุมโดยยีนด้อยคู่ ซึ่งส่งผลให้ไข่ปลาไม่สามารถฟักออกเป็นตัว การจะได้ปลากัดสีดำจึงไม่อาจผสมจากพ่อแม่ที่เป็นสีดำแท้ได้ เพราะไข่จะไม่ฟักออกเป็นตัว ดังนั้นลูกปลาสีดำจึงได้มาด้วยการผสม ๒ แนวทาง คือ ผสมแม่ปลาที่มียีนสีดำแฝงอยู่กับตัวผู้สีดำแท้ จะได้ปลาสีดำครึ่งหนึ่ง และปลาที่ไม่ใช่สีดำแต่มียีนสีดำอยู่อีกครึ่งหนึ่ง หรือผสมปลาที่ไม่ใช่ปลาสีดำแต่มียีนสีดำแฝงอยู่ทั้งคู่ จะได้ปลาสีดำ ๑ ใน ๔ ปลาสีอื่นที่มียีนสีดำแฝงครึ่งหนึ่ง และปลาสีอื่นที่ไม่มียีนสีดำอีก ๑ ใน ๔ การผสมปลาสีอื่นที่ไม่มียีนสีดำแฝงกับปลาที่มียีนสีดำแฝง จะไม่ได้ปลาสีดำเลย แต่จะได้ปลาสีอื่นที่มียีนสีดำแฝงอยู่ ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ผสมได้
การผสมพันธุ์ปลากัดสีแดง ปลากัดตามธรรมชาติที่มีลักษณะปกติของสีแดง จะปรากฏสีแดงเฉพาะบริเวณใกล้เหงือก และกระจายอยู่เล็กน้อยบริเวณครีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณโคนครีบหาง ส่วนปลากัดที่มีสีแดงทั้งตัวครอบคลุมถึงทุกส่วนของครีบ จะต้องมียีนด้อยคู่ของยีนที่ควบคุมการกระจายของสีแดง และต้องมียีนเด่นคู่ที่ควบคุมปริมาณสีแดง ยีนด้อยคู่ของยีนที่ควบคุมปริมาณสีแดงจะลดสีแดงลงจนแทบมองไม่เห็น ความเข้มและโทนสีของสีแดงของปลากัดจะถูกควบคุมด้วยยีนที่ควบคุมความสว่างของสี หรือบางครั้งเรียกว่า ยีนสีบลอนด์ ซึ่งจะควบคุมปริมาณสีดำที่ผสมอยู่ในสีแดง ทำให้เกิดโทนสีตั้งแต่สีแดงสดถึงสีน้ำตาลแดง ยีนด้อยของยีนคู่นี้จะทำให้สีแดงที่ได้เป็นสีแดงสด


อาหารของปลากัด


ไรแดง ลูกน้ำ หนอนแดง : ไรทะเล : ไส้เดือนน้ำ อาหารเม็ด :



ประโยชน์ของปลากัด


1.เลี้ยงเพื่อสร้างรายได้


2.เลี้ยงเพื่อความสวยงาม


3.เลี้ยงเป็นกีฬาในการต่อสู้